Share:

1.1 คุณสมบัติของผู้กู้ยืมรายบุคคล
กรณีคนพิการเป็นผู้กู้ยืม
1. มีบัตรประจําตัวคนพิการ
2. มีความจําเป็นในการขอรับการสนับสนุนเงินกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพในท้องที่ที่ยื่นคําขอ
3. มีความสามารถในการประกอบอาชีพในเรื่องที่ขอรับการสนับสนุน
4. บรรลุนิติภาวะ เว้นแต่คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนจะเห็นเป็นอย่างอื่น
5. มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านหรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในท้องที่ที่ยื่นคำขอกู้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
6. ไม่มีประวัติเสียหายในการกูเงินจากกองทุน
เว้นแต่ได้ดำเนินการแก้ไขมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือเป็นกรณีคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนจะเห็นเป็นอย่างอื่น
7. กรณีมีหนี้สินอยู่กับกองทุนต้องได้ชําระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของวงเงินกู้ยืมทั้งหมดและเมื่อได้การอนุมัติแล้วต้องชําระหนี้สินที่มีอยู่เดิมทั้งหมด
8. มีความสามารถชำระคืนเงินกู้ยืม โดยมีบุคคลค้ำประกันการกู้ยืม
ดังนี้
– บุคคลธรรมดาที่น่าเชื่อถือได้
– องค์กรตามประเภทความพิการหรือองค์กรของคนพิการที่เป็นนิติบุคคล
และมีวัตถุประสงค์ เพื่อการค้ำประกันให้กับสมาชิกเป็นผู้ค้ำประกัน
กรณีผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้กู้ยืม
1. มีความจําเป็นในการขอรับการสนับสนุนเงินกู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพในท้องที่ที่ยื่นคําขอ
2. มีความสามารถในการประกอบอาชีพในเรื่องที่ขอรับการสนับสนุน
3. บรรลุนิติภาวะ
เว้นแต่คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนจะเห็นเป็นอย่างอื่น
4. มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านหรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในท้องที่ที่ยื่นคำขอกู้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
5. ไม่มีประวัติเสียหายในการกูเงินจากกองทุน
เว้นแต่ได้ดำเนินการแก้ไขมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
หรือเป็นกรณีคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนจะเห็นเป็นอย่างอื่น
6. กรณีมีหนี้สินอยู่กับกองทุนต้องได้ชําระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของวงเงินกู้ยืมทั้งหมดและเมื่อได้การอนุมัติแล้วต้องชําระหนี้สินที่มีอยู่เดิมทั้งหมด
7. มีความสามารถชำระคืนเงินกู้ยืม โดยมีบุคคลค้ำประกันการกู้ยืม
ดังนี้
– บุคคลธรรมดาที่น่าเชื่อถือได้
– องค์กรตามประเภทความพิการหรือองค์กรของคนพิการที่เป็นนิติบุคคล
และมีวัตถุประสงค์ เพื่อการค้ำประกันให้กับสมาชิกเป็นผู้ค้ำประกัน
8. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
9. ได้รับการรับรองเป็นหนังสือจากผู้แทนองค์กรด้านคนพิการ กํานัน
ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา
ข้าราชการระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป
หรือมีหลักฐานเชื่อได้ว่าเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูคนพิการที่มีบัตรประจําตัวคนพิการซึ่งมิได้มีหนี้สิน
จากกองทุน
1.2 คุณสมบัติของผู้กู้ยืมรายกลุ่ม
1. เป็นกลุ่มคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการที่รวมตัวกันโดยมีผลประโยชน์และวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนกันนหรือทำกิจกรรมอันชอบด้วยกฎหมายและศีลธรรมร่วมกัน
ต้องมีสมาชิกกลุ่มไม่น้อยกว่าสองคน
ซึ่งสมาชิกสามารถเป็นผู้ค้ำประกันให้กันและกันได้
2. มีหลักฐานจากสถาบันการเงินเกี่ยวกับการออมเงินของกลุ่มอย่างสม่ำเสมอมาแล้วไม่น้อยกว่าสามเดือน
3. สมาชิกในกลุ่มต้องผ่านการฝึกอบรมอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานหรือองค์กรที่จัดฝึกอบรม
และต้องเป็นอาชีพเดียวกันหรือแบบเดียวกันกับอาชีพที่กู้ยืมเงินไปลงทุน
4. ได้รับการรับรองเป็นหนังสือรับรองจากองค์กรด้านคนพิการที่เป็นนิติบุคคลหรือหน่วยงาน
ภาครัฐว่าเป็นกลุ่มที่มีการรวมกลุ่มกันจริง
5. มีแผนงานหรือโครงการของกลุ่มที่จะดำเนินการต่อไปอย่างชัดเจน
6. กลุ่มคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการที่รวมตัวกันต้องมีคำว่า “กลุ่ม” ประกอบชื่อ
7. กลุ่มคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการที่รวมตัวกันต้องมีสถานที่ทำการที่แน่นอน
1.3 คุณสมบัติของผู้ค้ำประกัน
1. มีความสามารถในการทำนิติกรรม
2. มีภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่งมั่นคงมีอาชีพ และมีรายได้มั่นคง
และมีชื่อในทะเบียนบ้านในท้องที่ที่ยื่นขอกู้ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
3. ต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีประวัติการค้างชำระหนี้เงินกองทุนติดต่อกัน 2 งวด
4. ต้องไม่เป็นสามีหรือภรรยาของผู้กู้ตามกฎหมาย
เอกสารประกอบการยื่นคำขอกู้ยืมของผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน
1.1 เอกสารประกอบการยื่นคำขอกู้ยืมเงินรายบุคคล
กรณีคนพิการเป็นผู้กู้ยืม
1. สมุดหรือบัตรประจำตัวคนพิการ (พร้อมสำเนา
และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
2. บัตรประจำตัวประชาชน (พร้อมสำเนา
และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
3. ทะเบียนบ้าน (พร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
4. หนังสือรับรองการอยู่อาศัย
(ทั้งในกรณีอาศัยอยู่ในบ้านเช่าหรือไม่ใช่บ้านเช่า แนบด้วยสำเนาบัตรประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้านดังกล่าว พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
5. แผนที่แสดงที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้าน หรือที่อยู่ ณ ปัจจุบัน
และสถานที่ประกอบอาชีพ (เขียนรายละเอียดแผนที่ให้ถูกต้องและชัดเจนลงในกระดาษเปล่า
จำนวน 1 ใบ)
6. หนังสือยินยอมคู่สมรสในกรณีจดทะเบียนสมรส แนบด้วยสำเนาบัตรประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส สำเนาทะเบียนสมรส
พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ (สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://web1.dep.go.th/sites/default/files/images/document/nepfund1_1.pdf)
7. หลักฐานการศึกษา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิที่ผ่านการฝึกอาชีพ ถ้ามี (พร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
8. รูปถ่ายเต็มตัวปัจจุบันขนาด 4X6 นิ้ว จำนวน 1 รูป
9. ใบประมาณการค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ
(เขียนข้อมูลลงในกระดาษเปล่า จำนวน 1 ใบ)
10. แบบคำร้องขอกู้ยืมเงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
ประเภทการกู้ยืมของคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการเป็นรายบุคคล (สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://web1.dep.go.th/sites/default/files/images/document/nepfund1_1.pdf)
11. กรณียื่นกู้ครั้งที่ 2 ขึ้นไป ให้แนบสำเนาใบเสร็จในการชำระหนี้ หรือสำเนาสมุดหักลดยอดหนี้
(หน้าแรกที่มีเลขที่สัญญาและหน้าสุดท้ายของการชำระเงินงวดสุดท้าย) และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ
12. กรณียื่นคำขอกู้เพื่อค้าสลากฯ ที่มีโควตาสลากฯ
ให้แนบสำเนาบัตรหรือสำเนาเอกสารยืนยันพร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือในการรับสลากฯ
จากแหล่งที่ได้รับ เช่น สภาสังคมสงเคราะห์ฯ หรือกองสลากฯ เป็นต้น
กรณีผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้กู้ยืม
1. บัตรประจำตัวประชาชน (พร้อมสำเนา
และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
2. ทะเบียนบ้าน (พร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
3. หนังสือรับรองการอยู่อาศัย
(ทั้งในกรณีอาศัยอยู่ในบ้านเช่าหรือไม่ใช่บ้านเช่า แนบด้วยสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้านดังกล่าว
พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
4. แผนที่แสดงที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้าน หรือที่อยู่ ณ ปัจจุบัน
และสถานที่ประกอบอาชีพ (เขียนรายละเอียดแผนที่ให้ถูกต้องและชัดเจนลงในกระดาษเปล่า
จำนวน 1 ใบ)
5. หนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลหรือผู้อุปการะคนพิการ
ในกรณีไม่มีชื่อผู้ดูแลในบัตรคนพิการ แนบด้วยสำเนาบัตรประชาชนผู้รับรอง
พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ (สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://web1.dep.go.th/sites/default/files/images/document/nepfund1_1.pdf)
6. ใบรับรองแพทย์ของคนพิการ ในกรณีคนพิการมีสภาพความพิการรุนแรง
ระบุว่าคนพิการไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้
7. หนังสือยินยอมคู่สมรสในกรณีจดทะเบียนสมรส แนบด้วยสำเนาบัตรประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส สำเนาทะเบียนสมรส
พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ (สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://web1.dep.go.th/sites/default/files/images/document/nepfund1_1.pdf)
8. หลักฐานการศึกษา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิที่ผ่านการฝึกอาชีพ ถ้ามี (พร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
9. รูปถ่ายเต็มตัวคู่กับคนพิการปัจจุบันขนาด 4X6 นิ้ว จำนวน 1 รูป
10. ใบประมาณการค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ
(เขียนข้อมูลลงในกระดาษเปล่า จำนวน 1 ใบ)
11. แบบคำร้องขอกู้ยืมเงินกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
ประเภทการกู้ยืมของคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการเป็นรายบุคคล (สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://web1.dep.go.th/sites/default/files/images/document/nepfund1_1.pdf)
12. กรณียื่นกู้ครั้งที่ 2 ขึ้นไป ให้แนบสำเนาใบเสร็จในการชำระหนี้ หรือสำเนาสมุดหักลดยอดหนี้
(หน้าแรกที่มีเลขที่สัญญาและหน้าสุดท้ายของการชำระเงินงวดสุดท้าย)
และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ
13. กรณียื่นคำขอกู้เพื่อค้าสลากฯ ที่มีโควตาสลากฯ
ให้แนบสำเนาบัตรหรือสำเนาเอกสารยืนยันพร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือในการรับสลากฯ
จากแหล่งที่ได้รับ เช่น สภาสังคมสงเคราะห์ฯ หรือกองสลากฯ เป็นต้น
1.2 เอกสารประกอบการยื่นคำขอกู้ยืมเงินรายกลุ่ม
(ใช้เอกสารของตัวแทนกลุ่ม)
1. สมุดหรือบัตรประจำตัวคนพิการ และบัตรประจำตัวประชาชน (พร้อมสำเนา
และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
2. ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ
(กรณีผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้ขอกู้แทนคนพิการให้ใช้ของผู้ดูแล)
3. แผนที่แสดงที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้าน หรือที่อยู่ ณ ปัจจุบัน
และสถานที่ประกอบอาชีพ (เขียนรายละเอียดแผนที่ให้ถูกต้องและชัดเจนลงในกระดาษเปล่า
จำนวน 1 ใบ)
4. โครงการประกอบอาชีพของกลุ่ม
5. หนังสือรับรองการอยู่อาศัย
(ทั้งในกรณีอาศัยอยู่ในบ้านเช่าหรือไม่ใช่บ้านเช่า แนบด้วยสำเนาบัตรประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้านดังกล่าว พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
6. หนังสือรับรองขององค์กรคนพิการหรือองค์กรเพื่อคนพิการ
7. หนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลหรือผู้อุปการะคนพิการ
ในกรณีผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้ขอกู้แทนคนพิการ (สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://web1.dep.go.th/sites/default/files/images/document/nepfund1_1.pdf)
8. ใบรับรองแพทย์ของคนพิการ ในกรณีคนพิการมีสภาพความพิการรุนแรง
ระบุว่าคนพิการไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้และผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้ขอกู้แทนคนพิการ
9. รูปถ่ายเต็มตัวของผู้กู้ ขนาด 4X6 นิ้ว ปัจจุบัน จำนวน 1 รูป ในกรณีผู้ดูแลคนพิการเป็นผู้ขอกู้แทนคนพิการต้องถ่ายคู่กับคนพิการด้วย
10. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (พร้อมสำเนา
และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
1.3 เอกสารผู้ค้ำประกัน
1. บัตรประจำตัวประชาชน (พร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
2. ทะเบียนบ้าน (พร้อมสำเนา และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
3. แผนที่แสดงที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้าน หรือที่อยู่ ณ ปัจจุบัน
และสถานที่ประกอบอาชีพ (เขียนรายละเอียดแผนที่ให้ถูกต้องและชัดเจนลงในกระดาษเปล่า
จำนวน 1 ใบ)
4. หนังสือรับรองเงินเดือนฉบับจริงที่ต้นสังกัดของผู้ค้ำประกันฯ
ออกให้ หรือกรณีเป็นเจ้าของ กิจการธุรกิจส่วนตัว
ให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากแสดงรายได้ ย้อนหลัง 6 เดือน ณ ปัจจุบัน และทะเบียนการค้า (ถ้ามี) (พร้อมสำเนา
และลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ)
5. หนังสือยินยอมคู่สมรสในกรณีจดทะเบียนสมรส แนบด้วยสำเนาบัตรประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส สำเนาทะเบียนสมรส
พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ (สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://web1.dep.go.th/sites/default/files/images/document/nepfund1_1.pdf)
สถานที่ยื่นคำร้องขอกู้ยืมเงิน
จะต้องไปติดต่อยื่นคำร้องด้วยตนเองที่จังหวัดที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่หรือจังหวัดที่ตนเองประกอบอาชีพอยู่
ดังนี้
- กรุงเทพฯ: กองทุนและส่งเสริมความเสมอภาคคนพิการ
(ตึกนิวยอร์ก) ชั้น 2
บริเวณสถานีรถไฟสามเสน แขวงสามเสนใน
กรุงเทพมหานคร หรือศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน เขต 1-50
- ส่วนภูมิภาค:
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่หรือที่ประกอบอาชีพอยู่
ติดต่อสอบถามรายละเอียด
- กรุงเทพฯ: กองทุนและส่งเสริมความเสมอภาคคนพิการ
(ตึกนิวยอร์ก) ชั้น 2
บริเวณสถานีรถไฟสามเสน แขวงสามเสนใน
กรุงเทพมหานคร โทร. 02-106-9300, 02-106-9327-31
หรือศูนย์คุ้มครองสวัสดิภาพชุมชน เขต 1-50
- ส่วนภูมิภาค: สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
รายละเอียดการติดต่อ https://www.m-society.go.th/news_view.php?nid=10783
แหล่งอ้างอิงข้อมูล
“พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม”
“ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
ว่าด้วยการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
และการจัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
พ.ศ. 2552”
http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER4/DRAWER036/GENERAL/DATA0000/00000052.PDF
“ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
ว่าด้วยการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
และการจัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557”
http://web1.dep.go.th/sites/default/files/files/law/ระเบียบอนุมัติการจ่ายเงิน.pdf
“ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
ว่าด้วยการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
และการจัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558”
http://web1.dep.go.th/sites/default/files/files/law/regulations_fund_1_58.PDF
“ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
ว่าด้วยการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
และการจัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562”
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/100/T_0013.PDF
“กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ”
http://dep.go.th/Content/View/1338/2
“เงินทุนหมุนเวียนให้คนพิการกู้ยืมประกอบอาชีพ”
http://www.gcc.go.th/webgcc/?p=2823
“การกู้ยืมเงินกองทุน”
http://neppr56.dep.go.th/index.php/faq/7

หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพจากกองทุนผู้สูงอายุ
1.
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้สูงอายุกู้ยืม
เป็นทุนประกอบอาชีพ เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
2. ลักษณะการให้การกู้ยืม
ให้ผู้สูงอายุกู้ยืม
เป็นทุนประกอบอาชีพ เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
3. วิธีการให้การกู้ยืม
ให้ผู้สูงอายุได้กู้ยืมเงินเพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพ โดย
3.1 กู้ยืมเป็นรายบุคคลได้คนละไม่เกิน
30,000 บาท
3.2 กู้ยืมเป็นรายกลุ่มๆละไม่น้อยกว่า
5 คนได้กลุ่มละไม่เกิน 100,000 บาท
ทั้งนี้ ให้ชำระคืนเป็นรายงวด ภายในระยะเวลาไม่เกิน
3 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย
4.
คุณสมบัติของผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน
ผู้สูงอายุที่ต้องการขอรับเงินทุนประกอบอาชีพจากกองทุนผู้สูงอายุ ต้องมีอายุเกิน
60 ปีขึ้นไป และมีสัญชาติไทยที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนด้านเงินทุนประกอบอาชีพ
โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากแหล่งทุนอื่น หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ และมีคุณสมบัติดังนี้
ก. คุณสมบัติผู้กู้ยืม
1. สามารถประกอบอาชีพได้
2. มีแผนงานหรือโครงการประกอบอาชีพที่เหมาะสม
3. กรณีกู้ยืมรวมกลุ่มประกอบอาชีพ (กลุ่มละไม่น้อยกว่า 5 คน) ต้องมีคุณสมบัติตาม 1, 2, 3 และต้องมีการจัดโครงสร้างกลุ่ม ประกอบด้วย
(ก) มีรายชื่อกรรมการกลุ่ม
(ข) รายชื่อสมาชิกกลุ่ม
(ค)
มีแผนงาน/โครงการการประกอบอาชีพที่กระทำรวมกันเป็นกลุ่ม
(ง)
หนังสือรับรองจากองค์กรของผู้สูงอายุ/องค์กรภาคเอกชน/หน่วยงาน
ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
4. กรณีผู้กู้ยืมมีคู่สมรส
ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสด้วย
หากผู้ขอกู้รายใดไม่ผ่านการพิจารณาเนื่องจากคุณสมบัติผู้กู้ไม่ผ่านเกณฑ์,
รายได้เกินเกณฑ์ และกู้ผิดวัตถุประสงค์
จะสามารถส่งมาใหม่ได้หลังจากผ่าน 6 เดือนมาแล้ว
นับจากวันที่คณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุพิจารณา
ข. คุณสมบัติผู้ค้ำประกัน
– กรณีให้กู้ยืมเป็นรายบุคคล
ผู้กู้ต้องหาบุคคลที่น่าเชื่อถือจำนวน 1 คน เป็นผู้ค้ำประกัน เช่น
เป็นผู้ที่มีอาชีพมั่นคง รายได้แน่นอน
มีหลักฐานแสดงรายได้และการประกอบอาชีพ (หนังสือรับรอง
สมุดบัญชีธนาคารที่มียอดหมุนเวียนเข้าทุกเดือนอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไปที่ยืนยันการมีรายได้ของผู้ค้ำประกัน)
มีที่อยู่อาศัยที่แน่นอนตรวจสอบได้โดยมีภูมิลำเนาเดียวกันกับผู้ขอกู้ยืม และไม่เป็นผู้ค้ำประกันให้บุคคลอื่นที่ขอกู้ยืมเงินจากกองทุนผู้สูงอายุหรือไม่เป็นผู้ที่กู้ยืมด้วยกันเอง
– กรณีให้กู้ยืมเป็นรายกลุ่ม
สมาชิกในกลุ่มที่ต้องการกู้ยืมเงิน ต้องจัดหาผู้ค้ำประกันตามจำนวนผู้กู้ยืม
โดยต้องเป็นผู้ที่มีอาชีพมั่นคง รายได้แน่นอน มีหลักฐานแสดงรายได้และการประกอบอาชีพ
(หนังสือรับรอง สมุดบัญชีธนาคารที่มียอดหมุนเวียนเข้าทุกเดือนอย่างน้อย 3
เดือนขึ้นไป หรือ บัญชีสหกรณ์ทั่วไป ที่ยืนยันการมีรายได้ของผู้ค้ำประกัน)
และมีที่อยู่อาศัยที่แน่นอนตรวจสอบได้ ไม่เป็นผู้ค้ำประกันให้บุคคลอื่นที่ขอกู้ยืมเงินจากกองทุนผู้สูงอายุหรือไม่เป็นผู้ที่กู้ยืมด้วยกันเองและต้องรับผิดชอบลูกหนี้ร่วมกัน
–
กรณีผู้ค้ำประกันมีคู่สมรส
ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสด้วย
–
ผู้ค้ำประกันต้องมีภูมิลำเนาเดียวกันกับผู้ขอกู้ยืม
5. วงเงินที่กองทุนผู้สูงอายุให้การสนับสนุน
5.1
รายบุคคล อนุมัติเงินกู้ยืมตามความเหมาะสม
รายละไม่เกิน30,000 บาท
5.2
รายกลุ่ม กลุ่มละไม่น้อยกว่า 5 คน อนุมัติเงินกู้ยืมตามความเหมาะสม กลุ่มละไม่เกิน 100,000 บาท
ทั้งนี้ การพิจารณาอนุมัติคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ด้วย
6. เอกสารประกอบการกู้ยืม
6.1
กรณีให้กู้ยืมเป็นรายบุคคล ประกอบด้วย
(ก) สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอกู้ยืม
(ข) สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ค้ำประกัน
(ค) ประมาณการค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ /
แผนผังการประกอบอาชีพ,ที่อยู่อาศัย
(ง) หนังสือรับรองเงินเดือน/สลิปของผู้ค้ำประกัน
(เว้นแต่เกษตรกร)
(จ) หนังสือยินยอมคู่สมรส ผู้ขอกู้และผู้ค้ำประกัน (หากมี)
(ฉ) หนังสือสัญญาเช่าบ้าน (ในกรณีที่ผู้กู้เช่าบ้านอยู่)
6.2 กรณีให้กู้ยืมเป็นรายกลุ่ม ประกอบด้วย
(ก) สำเนาบัตรประชาชน
(ข) สำเนาทะเบียนบ้าน
(ค) โครงการประกอบอาชีพของกลุ่ม
(ง) หนังสือสัญญาเช่าบ้าน (ในกรณีที่ผู้กู้เช่าบ้านอยู่)
(จ) สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ค้ำประกัน
(ฉ) หนังสือรับรองเงินเดือนของผู้ค้ำประกัน (เว้นแต่เป็นเกษตรกร)
(ช) หนังสือยินยอมคู่สมรส (หากมี)
7. การทำสัญญากู้ยืมเงิน
– หากผู้กู้ได้รับการอนุมัติให้กู้ยืมเงิน ทางสำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ
หรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
(ตามสถานที่ที่ผู้กู้ได้ยื่นกู้) แจ้งให้ผู้กู้และผู้ค้ำประกัน
หรือกลุ่มประกอบอาชีพของผู้สูงอายุ มาทำสัญญากู้ยืมเงิน และสัญญาค้ำประกัน
ถ้าไม่มาทำสัญญาภายใน 30 วัน นับแต่วันที่แจ้งให้ทราบ
ให้ถือว่าการกู้ยืมเงินในครั้งนั้น เป็นอันสละสิทธิ์/ยกเลิก หากเป็นส่วนภูมิภาคจะต้องแจ้งให้กองทุนผู้สูงอายุทราบด้วย
ว่ามีผู้ผ่านการอนุมัติใดที่ไม่มาทำสัญญาภายใน 30 วัน เพื่อแจ้งผลการยกเลิกให้กับผู้กู้ทราบต่อไป
8. การชำระคืนเงิน
ให้ผู้กู้ส่วนภูมิภาคผ่อนชำระตามสัญญา
ณ สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุหรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือทางธนาณัติ
(ตามที่สถานที่ที่ผู้กู้ได้ยื่นขอกู้) ภายในระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่รับเงินกู้ โดยไม่มีดอกเบี้ย
ให้ชำระคืนเป็นรายงวดทุก 30 วัน ภายในวันที่ 5 ของทุกๆ เดือน หรือไม่เกินวันที่
15 ในเดือนนั้น ๆ
เมื่อผู้กู้ได้ชำระเงินกู้เป็นรายงวดแล้ว
จะได้รับหลักฐานการรับเงินทุกครั้ง หากไม่ได้รับหลักฐานการรับเงินให้แจ้งมาที่
กลุ่มกองทุนผู้สูงอายุ
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก
เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ
ที่ตั้ง เลขที่ 618/1 ถนนมักกะสัน
เขตราชเทวี
กรุงเทพ 10400
เบอร์โทรศัพท์ 02255 -5850-9 ต่อ 287 และ 289 โทรสาร
02253-9115
9. สถานที่ติดต่อขอรับการกู้ยืมเงิน
–
ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นที่สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ
– ในส่วนภูมิภาค
ให้ยื่นที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินความเหมาะสม (สอบสัมภาษณ์)


